นายสากล ณฤทธิ์ นำทีมรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ต่อการจัดทำแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยกระเสียว-ห้วยท่ากวย



        นายสากล ณฤทธิ์ นำทีมรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ต่อการจัดทำแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยกระเสียว-ห้วยท่ากวย

           “นายสากล ณฤทธิ์ นำทีมรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ต่อการจัดทำแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยกระเสียว-ห้วยท่ากวย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี วันที่ 24 มิถุนายน 2563 นายสากล ณฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 พร้อมด้วย นายมานะ ต้นนา ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินอุทัยธานี และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ร่วมกับผู้แทนสำนักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาที่ดิน ลงพื้นที่จัดทำประชาพิจารณ์ ณ ศาลาประชาคมหมู่ 2 บ้านผาทั่ง ต.ห้วยแห้ง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของชุมชน ต่อแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ปี 2563 ลุ่มน้ำห้วยกระเสียว-ห้วยท่ากวย โดยมีผู้แทนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หมอดินอาสา และเกษตกร จาก 6 ตำบล เข้าร่วมจำนวน 200 คน โดยมีผลสรุปดังนี้ 1. ปัญหาในการทำการเกษตรที่เกษตรกรสะท้อนและจำเป็นต้องรีบดำเนินการแก้ไข ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ 1) ปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและดินเสื่อมโทรม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้พื้นที่เกษตรกรรมอย่างเข้มข้นและขาดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีประสิทธิภาพ และ 2) ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำไม่เพียงพอ ทั้งทางด้านการเกษตรและการอุปโภคบริโภค อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน มีแหล่งกักเก็บน้ำและระบบกระจายน้ำไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอต่อพื้นที่เกษตรกรรม อีกทั้งการชะล้างพังทลายของดินส่งผลทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน กักเก็บน้ำได้ลดลง ซึ่งในปี 2563 ปัญหาดังกล่าวทำให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลงเกินกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า 2. ความต้องการของเกษตรกรจากภาครัฐ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำ ประกอบด้วย แหล่งกักเก็บน้ำขนาด 1,250 ลบ.ม. และมากกว่า 1,250 ลบ.ม. ฝายชะลอน้ำ ระบบกระจายน้ำ บ่อบาดาล 2) ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ประกอบด้วย คันดินกักเก็บน้ำ คันดินเบนน้ำ คูรับน้ำรอบเขา การปลูกแถบหญ้าแฝกขวางความลาดเท ฝายชะลอน้ำกึ่งถารวรในร่องน้ำ ทางลำเลียงในไร่นา 3) ด้านการปรับปรุงบำรุงดิน ประกอบด้วย การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี การปลูกพืชปุ๋ยสดปรับปรุงดิน นอกจากนี้เกษตรกรบางส่วนมีความต้องการในการปรับเปลี่ยนการผลิตพืช โดยขอให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้ามาแนะนำให้องค์ความรู้เพิ่มเติม รวมถึงการสนับสนุนด้านการวิเคราะห์ดิน และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดและกล้าหญ้าแฝก


  ข่าววันที่ : 25 มิ.ย. 2563 |
1e3